วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปัญหามีกลิ่นปาก

วิธีการแก้ปัญหา กลิ่นปาก บริหารเสน่ห์ให้กับตัวคุณเอง

กลิ่นปาก มีวิธีทดสอบง่ายๆ คือ อ้าปาก แล้วหายใจออกแรงๆ รดมือตัวเอง สูดหายใจลึกๆ ทันที เพื่อตรวจดูว่า ตัวเองมี "กลิ่นปาก" หรือเปล่า สาเหตุ เกิดจาก โรคภายในช่องปาก มากกว่าสาเหตุอื่นๆ อาทิ

। การรักษาสุขภาพช่องปากไม่ดี เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ยิ่งคนที่สูบบุหรี่มีคราบนิโคตินสะสมบนหินปูนที่เกาะบนตัวฟัน มีโอกาสเกิดกลิ่นปากมาก

2। มีเศษอาหารติดค้างในช่องปาก อาจเนื่องจากมีฟันผุเป็นบริเวณกว้าง ปัจจัยเสริมให้มีเศษอาหารติดได้แก่ การใส่ฟันปลอม, การใส่เครื่องมือจัดฟัน, การมีฟันซ้อนเก

3। เหงือกอักเสบ

4। หลังการถอนฟัน หรือมีแผลในปาก มีเลือดออกจากสาเหตุต่างๆ เนื่องจากลิ่มเลือดเป็นอาหารของแบคทีเรีย ย่อยสลายส่งกลิ่นได้

สาเหตุภายนอกช่องปาก อาจเกิดจากระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เช่น โรคกระเพาะอาหารหรืออาการท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องผูก, โรคไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ, ไข้หวัด เป็นต้น

การป้องกันและรักษา คือ รู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีหลังมื้ออาหาร การใช้เครื่องมือช่วยทำความสะอาดซอกฟัน รักษาสุขภาพช่องปาก บูรณะฟันที่ผุ ขูดหินปูน รักษาโรคปริทันต์ ถอนฟันที่ไม่สามารถบูรณะ (อุด) ได้ วิธีเหล่านี้จะช่วยลดการสะสมและบูดเน่าของเศษอาหารตกค้าง ซึ่งจะแก้กลิ่นปากได้

สำหรับหลายๆ คนที่ใช้ น้ำยาบ้วนปาก ชนิดผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคช่วยระงับกลิ่นนั้น ปกติแล้วน้ำยาชนิดนี้เหมาะใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาไม่สามารถทำความสะอาดช่องปากด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ผู้ที่ขากรรไกรหักต้องเข้าเฝือกมัดฟันบนและฟันล่างไว้ด้วยกัน ทำให้อ้าปากไม่ได้ แต่แพทย์หรือทันตแพทย์ผู้รักษาจะไม่ให้ผู้ป่วยใช้น้ำยาชนิดนี้ประจำ เพราะทำให้เสียสมดุลของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราในช่องปาก มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

เม็ดอมระงับกลิ่นปาก ก็เป็นสิ่งยอดนิยมของผู้มีกลิ่นปาก และไม่มีกลิ่นปากทั้งหลาย โดยมากเม็ดอมหรือหมากฝรั่งมีองค์ประกอบหลักคือน้ำตาล นอกนั้นเป็นสารปรุงรส, แต่งกลิ่น การบริโภคเม็ดอมหรือหมากฝรั่งระงับกลิ่นปาก อาจให้ผลเฉพาะหน้าที่น่าพอใจ แต่มีข้อพึงระวังคือ ถ้าบริโภคบ่อยครั้งต่อวันอาจทำให้สิ้นเปลือง และมีปัญหาโรคฟันผุตามมา

แต่ถ้าเป็นคนไม่ชอบพูดชอบคุย นิ่งเงียบ ไม่อ้าปากพูด อาจมีการบูดเน่าของน้ำลายในปากได้ เพราะมีการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ น้ำลายไม่มีการหมุนเวียนก็จะทำให้น้ำลายบูดและเกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คุณสนใจบทความประเภทนี้และอยากให้นำมาเสนอใหม่